top of page
ASA EX.jpg
Brief

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สถาปัตยกรรม คือสิ่งก่อสร้างที่ถูกนิยามว่าเป็นพื้นที่แห่งการก่อร่างสร้างวิถีชีวิต ขัดเกลาจิตวิญญาณของมนุษย์ เป็นส่วนประกอบของชุมชนและเมือง ที่ให้ผู้คนได้มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างเป็นรูปธรรมจับต้องได้

 

โมงยามเดียวกันนี้ เทคโนโลยีโลกเสมือนจริงทำให้กรอบของการดำเนินชีวิตของมนุษย์เราขยับขยายไปมากกว่าพื้นที่เชิงกายภาพ เราสามารถใช้ช่วงเวลาเดียว ในพื้นที่ที่มากกว่าหนึ่ง พูดง่ายๆ คือในหลักชั่วโมง นาทีหรือวินาทีเดียวกัน เราสามารถ ‘เป็นเรา’ ได้ทั้งในโลกเสมือนจริงและโลกแห่งความเป็นจริง

 

แม้เทคโนโลยีจะเชื่อมโยงมนุษยที่อยู่คนละมุมโลกเข้าไว้ด้วยกันได้ สร้างรูปแบบของความสัมพันธ์และสังคมแบบใหม่ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาพื้นที่เชิงกายภาพมากเท่าแต่ก่อน และในฐานะเครื่องมือที่ช่วยให้ชีวิตประจำวันของมนุษย์เราดำเนินไปได้อย่างสะดวกมากขึ้น เทคโนโลยีเองก็นำมาซึ่งความซับซ้อน ทั้งในมิติของความสัมพันธ์ พื้นที่และเวลา จนบางครั้งเราอาจลืมไปว่า เราล้วนอยู่บนโลกและจักรวาลแห่งเดียวกัน

 

เพียงแนวความคิดเชิงทดลองด้านสถาปัตยกรรมอาจไม่เพียงพอให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้เท่าทันกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ที่นับวันจะยิ่งมีผลต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ในเชิงกายภาพมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเหตุนี้ เวทีประกวดแบบ ASA EXPERIMENTAL DESIGN COMPETITION 2022 จึงอยากชักชวนให้ผู้เข้าร่วมทุกคน มาร่วมนำเสนอแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับการใช้งานได้จริง ช่วยกันมองหา ‘Co-Exist with Co-Area’ ในยุคสมัยที่พื้นที่สำหรับใช้งานร่วมกันมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ เช่นเดียวกันกับมิติของเวลาที่มีมากขึ้น อาจจะเป็นสถาปัตยกรรมที่ทำให้ผู้คนเชื่อมโยงกันได้ เป็นแนวความคิดเชิงสถาปัตกรรมที่ทำให้เมืองดีขึ้น สังคมดีขึ้น เกิดคุณค่าและความหมายที่ร่วมสมัยและสามารถนำไปใช้งานได้จริง

 

นอกจากการมอบรางวัลให้กับผลงานที่ชนะ ทุกๆ แนวความคิดสร้างสรรค์ที่เข้าร่วมการประกวดแบบครั้งนี้ ASA มีความยินดีที่จะเผยแพร่ผลงานทุกชิ้นออกสู่สาธารณชน เพื่อให้เกิดประโยชน์เป็นวงกว้าง ไม่เพียงแค่ในวงการสถาปนิกเท่านั้น

1. บริบท

• งานประกวดสามารถนําเสนอ แนวความคิดเชิงสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมภายใน ภูมิสถาปัตยกรรม หรือผังเมือง ที่ตอบโจทย์ ‘Co-Exist with Co-Area’ โดยต้องใช้แก้ปัญหาบนพื้นที่ ที่มีอยู่จริงเชิงกายภาพ ที่ไหนก็ได้ในประเทศไทยเท่านั้น

 

2.งานออกแบบ

• งานประกวดแบบต้องระบุการใช้สอยในแต่ละส่วนที่ชัดเจน

• งานประกวดแบบต้องระบุขนาดของพื้นที่ต่างๆ ให้ชัดเจน

 

3. คําบรรยาย

•  คำบรรยายภาษาไทยหรืออังกฤษ ไม่เกิน 300 คำ

1. ประเภทบุคคลทั่วไป

เปิดสำหรับสถาปนิก นักออกแบบ หรือบุคคลทั่วไป

2. ประเภทนักเรียน/นักศึกษา

เปิดสำหรับนักเรียน และนักศึกษา ระดับมัธยมต้นขึ้นไป จนถึงระดับมหาวิทยาลัย

1.บอร์ดขนาด A1 จํานวน 2 บอร์ด แนวตั้ง ติดลงบนฟิวเจอร์บอร์ด แต่ละบอร์ด ต้องมีเลขหน้าขนาดสูง 20 มิลลิเมตร ที่มุมขวาล่าง    

 

2.บอร์ดต้องไม่ปรากฏชื่อผู้ออกแบบ แต่ละผลงานต้องมีหมายเลขผลงาน ซึ่งเลือกโดยผู้ส่งประกวดเอง โดยหมายเลขผลงานต้องเป็น อักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ 3 ตัว ตามด้วยเลขอารบิค 4 ตัว และต่อท้ายด้วยประเภทการประกวด เช่น ASA1234 ประเภทบุคคลทั่วไป ให้มีหมายเลขผลงานขนาดสูง 20 มิลลิเมตร ปรากฏที่หลังบอร์ดที่มุมขวาล่างของแต่ละบอร์ด     

 

3.แต่ละผลงานให้ส่งพร้อมเอกสารขนาด A4 ระบุหมายเลขผลงานประเภทการประกวด ชื่อนามสกุลจริงของเจ้าของผลงาน อายุ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และอีเมล์ พร้อมด้วยสําเนาบัตรประชาชนหรือพาสปอร์ตที่ลงนามรับรองสําเนาถูกต้อง และ print out บอร์ดผลงานย่อลงบน A4 บอร์ดละแผ่น สําหรับประเภทนักเรียน/นักศึกษา ให้แนบหลักฐานการเป็นนักเรียน/นักศึกษาปัจจุบัน พร้อมลงนามรับรองสําเนาถูกต้อง เอกสารเหล่านี้ให้ใส่ในซองที่ปิดซีล และมีหมายเลขผลงานที่ชัดเจนอยู่หน้าซอง

 

4.แต่ละผลงานให้ส่งพร้อม ดิจิทัลไฟล์ ส่งทาง WeTransfer ไปยัง อีเมล์ info.asaexpo2022@gmail.com

4.1 pdf file ของแต่ละบอร์ด ขนาด A1 ความละเอียด 150 dpi ขนาดไฟล์ไม่เกิน 20 mb. ตั้งชื่อไฟล์ดังนี้ :   หมายเลขผลงาน – เลขหน้า - ประเภท เช่น ASA1234-1-บุคคลทั่วไป

4.2 docx file สำหรับคำบรรยาย ตั้งชื่อไฟล์ดังนี้ : หมายเลขผลงาน - ประเภท – text เช่น ASA1234-บุคคลทั่วไป-text

 

5.ผู้เข้ารอบสุดท้ายประเภทบุคคลทั่วไป ส่ง PowerPoint file สำหรับการพรีเซนต์รอบชิงชนะเลิศทาง WeTransfer ไปยัง อีเมล์ info.asaexpo2022@gmail.com  ตั้งชื่อไฟล์ดังนี้ : หมายเลขผลงาน-ประเภท-present เช่น ASA1234-บุคคลทั่วไป-present

ถึง คณะกรรมการประกวดแบบ ASA Experimental Design Competition 2022

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สำนักงานใหญ่)

248/1 ซอยศูนย์วิจัย 4 พระรามที่ 9 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

 

โทรศัพท์:  0-2319-6555 ต่อ 206 มือถือ 091-9814666

หมายเหตุ: สามารถจัดส่งพัสดุ หรือ มาส่งด้วยตนเองได้

1.ไม่มีค่าใช้จ่ายในการสมัคร

 

2.สามารถส่งผลงานเดี่ยวหรือกลุ่มก็ได้ หากสมาชิกในกลุ่มประกอบด้วยทั้งบุคคลทั่วไปและนักเรียน/นักศึกษาให้ส่งประกวดประเภทบุคคลทั่วไป

 

3.ผู้ส่งประกวดเดี่ยวหรือกลุ่มสามารถส่งผลงานได้มากกว่าหนึ่งผลงาน โดยให้แต่ละผลงานมีหมายเลขผลงานเฉพาะตัว

 

4.ผลงานต้องไม่เคยมีการเผยแพร่หรือส่งประกวดหรือถูกสร้างที่ใดมาก่อน

 

5.ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องเป็นผลงานของผู้ส่งเข้าประกวดเองทั้งหมด ห้ามมีส่วนหนึ่งส่วนใดละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และลิขสิทธิ์ของผู้อื่น

 

6.ลิขสิทธิ์ของผลงานเป็นของผู้ส่งเข้าประกวด สมาคมสถาปนิกสยามฯขอสงวนสิทธิ์ในการตีพิมพ์และแสดงผลงานทุกชิ้น ตลอดจนข้อมูลอื่นๆที่ส่งเข้าประกวด เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ในทุกรูปแบบ

 

7.ห้ามผู้ส่งผลงานเข้าประกวดเผยแพร่ผลงานต่อสาธารณชนก่อนการประกาศตัดสินผู้ชนะ

 

8.ผลงานที่ได้เข้ารอบ long list จะถูกจัดแสดงในงาน สถาปนิก’65

 

9.การตัดสินของกรรมการถือเป็นที่สุด

 

10.กรณีที่มีการผิดเงื่อนไขการประกวดผลงานนั้นๆ จะไม่ได้รับการพิจารณา และหากเป็นที่ทราบภายหลังว่ามีการผิดเงื่อนไขการประกวดรางวัลและเกียรติคุณทั้งหมดจะถูกเรียกคืน

Register
19 เม.ย. 2565

วันสุดท้ายของการรับผลงาน ผลงานต้องมา ถึงสมาคมสถาปนิกสยามฯ ไม่เกิน 17:00 น. ไม่ว่าจะจัดส่งมาด้วยวิธีใด

ประกาศผลการคัดเลือกผู้เข้ารอบสุดท้าย ประเภทบุคคลทั่วไป และประกาศผลการคัด เลือกผู้ชนะประเภทนักเรียน/นักศึกษา

30 เม.ย. 2565

กรรมการและประกาศผลผู้ชนะ การประกวด ในงานสถาปนิก’65 ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี เวลา 18:00 - 19:00 น. ประกาศผลผู้ชนะในวันเดียวกัน

คุณวิน.png

ม.ล. วรุตม์ วรวรรณ 

Varudh Varavarn

Vin Varavarn Architects Ltd.

คุณตี๋.png

ณรงค์ โอถาวร

Narong Othavorn

So Architect Co. Ltd.

คุณตุ๋ย.png

พัชรดา อินแปลง

Patcharada Inplang

Sher Maker Studio Co.,Ltd.

คุณฝน.png

วทันยา จันทร์วิทัน

Wtanya Chanvitan

Bangkok Tokyo Architecture

คุณเสก.png

เสก สิมารักษ์

Sake Simaraks

Sake Architects Co., Ltd.

Archive

รางวัลที่ 1

100,000 บาท

รางวัลชมเชย 3 รางวัล

10,000 บาท

รางวัลที่ 2

50,000 บาท

รางวัลที่ 3

30,000 บาท

รางวัลที่ 1

30,000 บาท

รางวัลที่ 2

20,000 บาท

รางวัลที่ 3

10,000 บาท

รางวัลชมเชย 3 รางวัล

5,000 บาท

bottom of page