top of page
ASA_20_TheEverydayHeritage_1600x800px-04
ASA_20_TheEverydayHeritage-03.png
ASA_21_TheEverydayHeritage_Logo-1.png

ANNOUNCEMENT OF AWARDED ENTRIES

ANNOUNCEMENT OF AWARDED ENTRIES

Brief

THE EVERYDAY HERITAGE

EXPERIMENTAL DESIGN COMPETITION

DESIGN BRIEF

นอกเหนือไปจากมรดกสถาปัตยกรรมกลุ่มที่มีความสําคัญอย่างยิ่งอันเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไป และเป็นที่ยอมรับอยู่แล้วว่าเป็นสิ่งที่สมควรอนุรักษ์โดยมิได้ต้องมีการทําความเข้าใจกันมากมายนัก อย่างเช่น โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนระดับชาติเป็นต้น ก็ยังมีมรดกสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่ากลุ่มใหญ่อีกกลุ่มหนึ่งซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น ‘THE EVERYDAY HERITAGE’ ซึ่งบางครั้งสังคมอาจมองข้ามไปโดยมิได้ตระหนักถึงคุณค่าที่มีอยู่ ไม่ว่าอาจจะเป็นเพราะความใกล้ชิดคุ้นเคยมากจนมองผ่านมันไป ไม่ว่าอาจจะเป็นด้วยสถาปัตยกรรมนั้น แม้ว่ามีคุณค่าอันละเอียดแต่อาจเป็นสิ่งเรียบง่ายไม่ใหญ่โตไม่ได้มีสถานะที่สําคัญที่มีความเป็นพิธีการ ไม่ว่าอาจจะเป็นด้วยสถานที่นั้นอยู่ในสภาพชํารุดทรุดโทรมหรือรกรุงรังจนยากที่จะมองออกถึงคุณค่าที่ซุกซ่อนอยู่ ไม่ว่าอาจจะเป็นด้วยสถานที่นั้นเป็นร่องรอยทางประวัติศาสตร์ระดับชาวบ้านเป็นวิถีชีวิตจริงของผู้คนที่บางครั้งถูกมองว่าไม่สําคัญ ไม่ว่าจะเป็นด้วยสถาปัตยกรรมนั้นมีอายุไม่มากนักไม่รู้สึกเก่าแก่พอที่จะถูกอธิบายได้โดยง่ายว่าเป็นมรดกที่สําคัญทั้งที่มันมีคุณค่าอย่างยิ่งในฐานะตัวแทนอดีตที่เพิ่งผ่านมาได้ไม่นานนัก หรือจะด้วยสาเหตุอื่นใดก็แล้วแต่ อันทําให้ผู้คนอาจไม่ตระหนักรู้ถึงคุณค่าของมรดกทางสถาปัตยกรรมเหล่านี้มากเท่ากับคุณค่าที่มันมี และเป็นที่น่าเสียดายที่ ‘THE EVERYDAY HERITAGE’ รอบๆ ตัวเราเหล่านี้หลายแห่งก็ถูกรื้อทําลายไป มันกําลังค่อยๆเลือนหายไปเรื่อยๆ อย่างน่าเสียดาย     

 

แต่การอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมก็มิได้จําเป็นเสมอไปที่จะเป็นเพียงการซ่อมแซมให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิม หรือกลับมาใช้สอยแบบดั้งเดิมแต่เพียงเท่านั้น อาจจะเป็นโอกาสอันดีเสียอีกสําหรับ ‘THE EVERYDAY HERITAGE’ ที่อาจจะถูกเปิดกว้างยอมรับอิสระทางความคิดสร้างสรรค์ที่จะเกิดการสร้างสรรค์ใหม่ๆ เข้าไปในพื้นที่ได้ง่ายกว่า เมื่อเทียบกับมรดกสถาปัตยกรรมแบบทางการที่ทุกคนจับตามอง หรือถูกกฎหมายควบคุมไว้แล้วอย่างเข้มข้น

 

การประกวดแบบครั้งนี้เป็นการชักชวนให้ผู้เข้าร่วมได้มาช่วยกันมองหา ‘THE EVERYDAY HERITAGE’ มรดกสถาปัตยกรรมที่อาจถูกหลายคนมองข้ามไป หรือถูกให้คุณค่าน้อยกว่าศักยภาพของมัน และนําเสนอพื้นที่จริงนั้น พร้อมเสนอการออกแบบทาง สถาปัตยกรรมเข้าไปในพื้นที่เดิม (architectural intervention) ในแนวทางที่เหมาะสม เพื่อวัตถุประสงค์ที่เหมาะสม และเกิดการต่อยอดคุณค่าในมรดกสถาปัตยกรรมที่ซ่อนเร้นอยู่เดิม ให้เกิดคุณค่าและความหมายใหม่ที่ร่วมสมัยอย่างสร้างสรรค์

เนื้อหาที่ต้องนําเสนอ

1. บริบท
• งานประกวดต้องนําเสนอมรดกสถาปัตยกรรมที่เป็น ‘THE EVERYDAY HERITAGE’ ที่มีอยู่จริง และแสดงให้       กรรมการเข้าใจได้ถึงสภาวะของมรดกสถาปัตยกรรมนั้นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

2.งานออกแบบ
• งานประกวดแบบต้องเป็นการออกแบบทางสถาปัตยกรรมที่มีต่อมรดกสถาปัตยกรรมนั้น

• งานประกวดแบบต้องระบุการใช้สอยในแต่ละส่วนที่ชัดเจน

• งานประกวดแบบต้องระบุขนาดของพื้นที่ต่าง ๆ ให้ชัดเจน

3. คําบรรยาย
•  คำบรรยายภาษาไทยหรืออังกฤษ ไม่เกิน 300 คำ

 

ประเภทการประกวด

1. ประเภทบุคคลทั่วไป : เปิดสำหรับสถาปนิก นักออกแบบ นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไป

2. ประเภทนักเรียน : เปิดสำหรับนักเรียนระดับมัธยมปลาย หรือเทียบเท่าหรือต่ำกว่า

รูปแบบการนำเสนอ

1.บอร์ดขนาด A1 จํานวน 2 บอร์ด แนวตั้ง ติดลงบนบอร์ดกระดาษชานอ้อย แต่ละบอร์ด ต้องมีเลขหน้าขนาดสูง 20 มิลลิเมตร ที่มุมขวาล่าง     

 

2.บอร์ดต้องไม่ปรากฏชื่อผู้ออกแบบ แต่ละผลงานต้องมีหมายเลขผลงาน ซึ่งเลือกโดยผู้ส่งประกวดเอง โดยหมายเลขผลงานต้องเป็น อักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ 3 ตัว ตามด้วยเลขอารบิค 4 ตัว และต่อท้ายด้วยประเภทการประกวด เช่น ASA1234 ประเภทบุคคลทั่วไป ให้มี หมายเลขผลงานขนาดสูง 20 มิลลิเมตร ปรากฏที่หลังบอร์ดที่มุมขวาล่างของแต่ละบอร์ด      

 

3.แต่ละผลงานให้ส่งพร้อมเอกสารขนาด A4 ระบุหมายเลขผลงานประเภทการประกวด ชื่อนามสกุลจริงของเจ้าของผลงาน อายุ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และอีเมล์ พร้อมด้วยสําเนาบัตรประชาชนหรือพาสปอร์ตที่ลงนามรับรองสําเนาถูกต้อง และ print out บอร์ดผลงานย่อลงบน A4 บอร์ดละแผ่น สําหรับประเภทนักเรียนให้แนบหลักฐานการเป็นนักเรียนปัจจุบันด้วย พร้อมลงนามรับรองสําเนาถูกต้อง เอกสารเหล่านี้ให้ใส่ในซองที่ปิดซีล และมีหมายเลขผลงานที่ชัดเจนอยู่หน้าซอง

 

4.แต่ละผลงานให้ส่งพร้อม ดิจิทัลไฟล์ ส่งทาง WeTransfer ไปยัง อีเมล์ info@asacompetition2020.com    4.1. pdf file ของแต่ละบอร์ด ขนาด A1 ความละเอียด 150 dpi ขนาด ไฟล์ไม่เกิน 20 mb. ตั้งชื่อไฟล์ดังนี้ : หมายเลขผลงาน-เลขหน้า-ประเภท เช่น ASA1234-1-บุคคลทั่วไป

4.2. docx file สําหรับคําบรรยาย ตั้งชื่อไฟล์ดังนี้ : หมายเลขผลงาน-ประเภท-text เช่น ASA1234-บุคคลทั่วไป-text

 

5.ผู้เข้ารอบสุดท้ายประเภทบุคคลทั่วไป ส่ง powerpoint file สําหรับการพรีเซนต์รอบชิงชนะเลิศทาง WeTransfer ไปยัง อีเมล์ info@asacompetition2020.com ตั้งชื่อไฟล์ดังนี้ : หมายเลขผลงาน-ประเภท-present เช่น ASA1234-บุคคลทั่วไป-present

ที่อยู่ในการจัดส่งผลงาน

ถึง คณะกรรมการประกวดแบบ ASA Experimental Design Competition 2020

 

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์  (สำนักงานใหญ่ )     

248/1 ซอยศูนย์วิจัย 4 พระรามที่ 9 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310     

 

โทรศัพท์: 0-2319-6555 ต่อ 206  มือถือ 081-0487771 

หมายเหตุ: สามารถจัดส่งพัสดุ หรือมาส่งด้วยตนเองได้

เงื่อนไขการเข้าร่วมประกวด

1.ไม่มีค่าใช้จ่ายในการสมัคร

 

2.สามารถส่งผลงานเดี่ยวหรือกลุ่มก็ได้ หากสมาชิกในกลุ่มประกอบด้วยทั้งบุคคลทั่วไปและนักเรียนให้ส่งประกวดประเภทบุคคลทั่วไป

 

3.ผู้ส่งประกวดเดี่ยวหรือกลุ่มสามารถส่งผลงานได้มากกว่าหนึ่งผลงาน โดยให้แต่ละผลงานมีหมายเลขผลงานเฉพาะตัว

 

4.ผลงานต้องไม่เคยมีการเผยแพร่หรือส่งประกวดหรือถูกสร้างที่ใดมาก่อน

 

5.ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องเป็นผลงานของผู้ส่งเข้าประกวดเองทั้งหมด ห้ามมีส่วนหนึ่งส่วนใดละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และลิขสิทธิ์ของผู้อื่น

 

6.ลิขสิทธิ์ของผลงานเป็นของผู้ส่งเข้าประกวด สมาคมสถาปนิกสยามฯขอสงวนสิทธิ์ในการตีพิมพ์และแสดงผลงานทุกชิ้น ตลอดจนข้อมูลอื่นๆที่ส่งเข้าประกวด เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ในทุกรูปแบบ

 

7.ห้ามผู้ส่งผลงานเข้าประกวดเผยแพร่ผลงานต่อสาธารณชนก่อนการประกาศตัดสินผู้ชนะ

 

8.ผู้เข้ารอบหกผลงานสุดท้ายในการประกวดประเภทบุคคลทั่วไป จะต้องเตรียม powerpoint เพื่อมาพรีเซนต์ต่อหน้าคณะกรรมการ     ในเวลาไม่เกิน 7 นาที และตอบคำถามคณะกรรมการในเวลาประมาณ 7 นาที หากไม่สามารถมาได้ด้วยเหตุสุดวิสัย ให้สามารถส่งวิดีโออธิบายงานไม่เกิน 7นาที มาก่อนล่วงหน้าวันพรีเซนต์อย่างน้อยสามวันได้ และต้องสามารถตอบคำถามทาง video call ในวันเวลาตัดสินได้ หรือตามที่คณะกรรมการจะพิจารณาอนุโลม ผู้ที่มีการอธิบายงานจึงมีสิทธิ์ได้รับรางวัล

 

9.ผลงานที่ได้เข้ารอบ long list จะถูกจัดแสดงในงาน สถาปนิก’63

 

10.การตัดสินของกรรมการถือเป็นที่สุด

 

11.กรณีที่มีการผิดเงื่อนไขการประกวดผลงานนั้นๆ จะไม่ได้รับการพิจารณา และหากเป็นที่ทราบภายหลังว่ามีการผิดเงื่อนไขการประกวดรางวัลและเกียรติคุณทั้งหมดจะถูกเรียกคืน

23 มี.ค. 2563

วันสุดท้ายของการรับผลงาน ผลงานต้องมา ถึงสมาคมสถาปนิกสยามฯ ไม่เกิน 17:00 น. ไม่ว่าจะจัดส่งมาด้วยวิธีใด

10 เม.ย. 2563

ประกาศผลการคัดเลือกผู้เข้ารอบสุดท้าย ประเภทบุคคลทั่วไป และประกาศผลการคัด เลือกผู้ชนะประเภทนักเรียน

20 เม.ย. 2563

ผู้เข้ารอบสุดท้ายประเภทบุคคลทั่วไปส่ง powerpoint file ไม่เกิน 17:00 น.

30 เม.ย. 2563

ผู้เข้ารอบสุดท้ายประเภทบุคคลทั่วไปนำเสนอ งานต่อคณะกรรมการและประกาศผลผู้ชนะ การประกวด ในงานสถาปนิก’63 ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี เวลา 14:00 - 17:00 น. ประกาศผลผู้ชนะในวันเดียวกัน

Register

กำหนดการส่งผลงาน และตัดสินรางวัล

รางวัล - ประเภทบุคคลทั่วไป

รางวัลชมเชย 3 รางวัล

10,000 บาท

รางวัลที่ 1

100,000 บาท

รางวัลที่ 2

50,000 บาท

รางวัลที่ 3

30,000 บาท

รางวัล - ประเภทนักเรียน

รางวัลชมเชย 3 รางวัล

5,000 บาท

รางวัลที่ 1

30,000 บาท

รางวัลที่ 2

20,000 บาท

รางวัลที่ 3

10,000 บาท

bottom of page