top of page
Brief

ภาพรวม

สัมผัส สถาปัตยกรรม และความรู้สึก

มนุษย์เราล้วนมีสัมผัสทางความรู้สึกที่รับรู้ได้ 5 สัมผัส ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส การดมกลิ่น และการรับรส หรือในบางกรณีสัมผัสพิเศษที่เราเรียกกันว่าสัมผัสที่ 6 สัมผัสเหล่านี้ถูกถ่ายทอดออกมาผ่านการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ผ่านสภาพแวดล้อมต่างๆ ในสังคม เช่น อัตลักษณ์ของตัวเมือง 

วิถีชีวิตของผู้คน และงานสถาปัตยกรรม 

 

การดำเนินชีวิตของผู้คนบนทางเดินบนฟุตบาท รถบนท้องถนน กลิ่นของอาหารข้างทาง เสียงบนทางสัญจร ความเชื่อ และอื่นๆ อีกมากมาย ล้วนเป็นสัมผัสที่มนุษย์ได้พบเจอในชีวิตประจำวัน กรุงเทพเป็นหนึ่งในเมือง

ที่ถ่ายทอดวิถีชีวิตของผู้คนเหล่านี้ออกมาผ่านสัมผัสทั้ง 5+1 ได้อย่างชัดเจนและตรงไปตรงมา ทำให้เมือง

มีสีสันและชีวิตชีวา 

 

แต่เมื่อสังคมปัจจุบันกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไปส่งผลให้รูปแบบการดำเนินชีวิตของคนยุคใหม่ที่พาตัวเองไปผูกไว้กับโลกดิจิทัลมากขึ้น การปรับเปลี่ยนมาใช้ดิจิทัลแทนการทำงานแบบเดิม และจากสังคมที่บีบบังคับให้ต้องกระตือรือร้นตลอดเวลา ความวุ่นวาย ความเร่งรีบก่อให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ เช่น Metaverse และ AI  ในอนาคตอันใกล้ การใช้ชีวิตในเมืองจะเป็นอย่างไรและจะส่งผลกระทบต่อ "ความรู้สึก" หรือ "สัมผัส" ของมนุษย์ในทางไหนบ้าง? 


การประกวดแบบในครั้งนี้ จึงอยากจะเชิญเพื่อร่วมหาแนวทางความคิดสร้างสรรค์และผลงานออกแบบที่ไม่จำกัดพื้นที่ตั้งและขนาด โดยใช้กรุงเทพเป็นกรณีศึกษาเพื่อหาความเหมือนที่แตกต่าง ตอบโจทย์ความรู้สึกของผู้คนกับตัวเมืองผ่านคำจำกัดความว่า "สัมผัส"

ข้อกำหนดการส่งผลงาน

ข้อกำหนดการส่งผลงาน
 

ทุกการส่งผลงานต้องมีเนื้อหาดังต่อไปนี้:

 

1. ผู้เข้าร่วมแข่งขันสามารถเลือกสถานที่ที่เฉพาะตัวแบบใดก็ได้ เป็นบริบทในการออกแบบ โดยหัวข้อและขอบเขตการแข่งขันสามารถเป็นงานสถาปัตยกรรม ออกแบบผังเมือง ออกแบบภายใน หรือ งานออกแบบกลไกงานระบบ 

 

2. หลังจากที่ระบุบริบทแล้ว ให้ระบุแนวความคิดของภาพ, การวิเคราะห์, รูปตัด, แผนผัง,

ภาพแบบจำลองหรือทัศนียภาพในขนาดใดก็ได้ ที่แสดงให้เห็นว่าวิธีการออกแบบสามารถ

ตอบสนองต่อ "สัมผัส" ในสภาพแวดล้อมปัจจุบันและอนาคตได้เป็นอย่างดี

การนำเสนอผลงาน

บอร์ดกราฟิก A0 (1) แผ่น : รูปแบบแนวตั้ง 841 มม. x 1189 มม
PDF ความละเอียดสูง @300 dpi (ขนาดไฟล์สูงสุดของบอร์ด PDF : 10MB)

คำแนะนำ : ขนาดตัวอักษรในกราฟิกไม่ควรน้อยกว่า 12 pt เพื่อความชัดเจนในการพิมพ์

ชื่อไฟล์ : Firstname_Lastname_300.pdf

รายละเอียดโครงการเป็นภาษาอังกฤษ (สูงสุด 300 คำ)

ชื่อไฟล์ : Firstname_Lastname.doc

ไฟล์ที่ไม่ตรงตามข้อกำหนดที่ระบุจะไม่ได้รับการพิจารณา 

รางวัล

ประเภทบุคคลทั่วไป

รางวัลที่ 1

100,000 บาท

รางวัลที่ 2

50,000 บาท

รางวัลที่ 3

30,000 บาท

รางวัลชมเชย 3 รางวัล : ประกาศนียบัตร

ประเภทนักเรียน/นักศึกษา

รางวัลที่ 1

50,000 บาท

รางวัลที่ 2

30,000 บาท

รางวัลที่ 3

20,000 บาท

รางวัลชมเชย 3 รางวัล : ประกาศนียบัตร

กำหนดการการแข่งขัน

ประกาศผลงานที่ได้รับรางวัล

ประกาศผลงานที่ได้รับการคัดเลือก

คัดเลือกผลงานรอบที่สอง

คัดเลือกผลงานรอบแรก

หมดเขตการส่งผลงาน

เริ่มส่งผลงานการประกวดผ่านทางออนไลน์

Kas-Oosterhuis-and-Ilona-Lénárd.png

Kas Oosterhuis & Ilona Lénárd

Daiji Chikuba-Profile web.png

Daiji Chikuba

Supitcha Tovivich Profile Web.png

Supitcha Tovivich

เกณฑ์การตัดสินหลักของคณะกรรมการ

  1. ความคิดสร้างสรรค์ (40%) :
    ความสามารถในการสร้างไอเดียที่น่าสนใจและสดใหม่
     

  2. ความเกี่ยวข้องและความน่าสนใจในการตีความโจทย์ (30%): 
    การนำเสนอไอเดียใหม่ของคำนิยามว่า “สัมผัส” รวมถึงการเล่าเรื่องให้มีมิติและความน่าสนใจ
     

  3. การสื่อสารที่ชัดเจน (30%):
    ความชัดเจนในการนำเสนอแนวความคิด (เทคนิคการนำเสนอจะไม่ถูกพิจารณาในเกณฑ์การตัดสิน)

เงื่อนไขการลงทะเบียนและการส่งผลงาน

  • ลงทะเบียนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

  • ลงทะเบียนได้ที่ www.asacompetition.com

  • ส่งผลงานออนไลน์ได้ที่ อีเมล: info.asacompetition@gmail.com

  • เปิดรับสมัครจาก นักศึกษา,สถาปนิก,นักวางแผนผังเมือง,นักออกแบบ,ศิลปินและนักคิดวิเคราะห์

  • ส่งผลงานเป็นรายบุคคลหรือทีม (ไม่เกิน 4 คน)

  • ไม่มีข้อกำจัดทางอายุ,เพศ หรือสัญชาติ

  • ไม่มีข้อจำกัดในจำนวนผลงานที่ส่ง

  • ผลงานจะต้องไม่ถูกเผยแพร่จากที่ใดมาก่อน

  • ผลงานที่ส่งเข้ามาจะต้องไม่ใช่ผลงานที่ถูกสร้างขึ้นหรือเป็นโครงการที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว

  • ผู้เข้าร่วมส่งผลงานต้องมีสิทธิ์ทางกฎหมายและลิขสิทธิ์ทุกรายการที่ส่งเข้าแข่งขัน หากโครงการมีวัสดุหรือองค์ประกอบใด ที่ไม่ได้เป็นเจ้าของ ผลงานนั้นจะถูกตัดสิทธิ์ หากทราบว่ามีการละเมิดสิทธิ์รางวัลจะถูกยกเลิก

  • ลิขสิทธิ์ของโครงการนี้เป็นของผู้เข้าร่วมส่งผลงาน

  • วัสดุทั้งหมดที่ส่งเข้าแข่งขันอาจถูกแสดงและ/หรือเผยแพร่ตามดุลยพินิจของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์

SavineeBuranasilapin1_edited.jpg

ศาวินี บูรณศิลปิน

Savinee Buranasilapin

Thingsmatter

_rahaporn04 (1)_edited.jpg

ผศ.ดร. รชพร ชูช่วย Rachaporn Choochuey 

all(zone)

Xu Tiantian_Portrait Image_High Resolution00_edited.jpg

Tiantian Xu

DnA_Design and Architecture

bottom of page